31 ตุลาคม, 2550

แกล้งโพสต์ ..ฝากภาพ เพื่อเอาxxxไปใช้กับส่วนอื่น

การโพสต์ภาพใน Blogger จำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้ใน Blog Post (ส่วนที่ใช้เขียนเนื้อหาบทความ) เพียงอย่างเดียว? ..สำหรับผม ผมก็จะตอบว่า "ไม่เลย ไม่จำเป็นอ่ะ" (เพราะอย่างไรเสีย ผมก็จะโน้มน้าวเข้าหัวข้อที่พาดหัวไว้ อยู่แล้วแหละ หุ หุ!!) แต่จริงๆ แล้ว มันยังสามารถใช้ทำอะไรอีกก็ได้ ที่พึงประสงค์

ปกติเวลาที่เราเขียนเนื้อหาใน Blog และมีการแทรกภาพด้วย เราก็แทรกตามปกติ และภาพนั้นๆ เราก็ใช้แค่ในส่วน Blog Post ในเนื้อหาที่เขียนเท่านั้น

อือ!! แล้วถ้าเราจะไม่ใช้เฉพาะส่วนนี้หละ? ..และจะเอาไปใช้อย่างไร? ใช้กับส่วนไหนบ้างหละ? มีวิธีการง่ายๆ มาแนะนำ ครับ

  1. เราก็ Login เข้า Blogger ตามปกติ
  2. เข้าไปส่วน + บทความใหม่
  3. เราไม่ต้องเขียนข้อความอะไรทั้งสิ้น ..ตรงปรี่เข้าไป คลิก ไอคอน เพิ่มรูปภาพ เลย(โช๊ะ! เข้าให้)
  4. เพิ่มเสร็จ เราก็ไม่ต้อง Publish (เผยแพร่)ครับ คลิกปุ่ม บันทึกทันที (Save Draft) บันทึกเป็นแบบร่างไว้ก่อน ...กันเหนียว
  5. เสร็จแล้ว ก็สั่งให้แสดงตัวอย่าง ..คลิกปุ่ม แสดงตัวอย่าง (Preview)
  6. คลิกขวาที่ภาพ และเลือกคำสั่ง Copy Image Location, Copy image address หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้อง (เราก็จะได้ URL ของภาพมาแล้ว แบบง่ายๆ ดีมั๊ยย!)
  7. เสร็จแล้ว เราก็เอามาวางไว้ใน Notepad ฝากไว้ก่อน(หากยังไม่ใช้ทันที)

ทีนี้จะเอาไปใช้อย่างไร ใช้กับอะไรหละ? ก็แล้วแต่หละครับว่า จะเอาไปใช้อย่างไร ..เช่น เอาไปทำเป็นภาพ Background ของ Blog เราเอง, Favicon(Icon หน้า URL แบบส่วนตัวของเรา) Avatar picture(ภาพเล็กๆ แทนตัวเรา เช่นใน Blogger) ภาพสำหรับทำส่วนหัวบล็อก (Blog Header) หรือ อะไรก็ได้ ที่เราคิดได้ และคิดออกหละครับ (แต่ว่าตอนนี้ ผมคิดไม่ออกครับ) :-(

ปล. หากเราเลิกใช้ภาพเหล่านั้น เราก็แค่เข้าไปลบ เนื้อหาที่ Save เป็นดราฟท์ไว้ ได้เลยครับ

การบันทึกภาพไว้ในที่เดียวกันกับ Blog จะทำให้การอ่านหน้า Blog ได้ไวขึ้น เพราะไม่ต้องไปอ่านภาพจากโฮสต์ฝากภาพที่ไหนมาแสดง เป็นผลให้การแสดงผลของหน้า Blog เราไวขึ้น (อันนี้คิดเองหนะครับ มิรู้ถูกฤเปล่า)

..ทีนี้เราก็เห็นแล้วว่า มันง่ายมาก นิดเดียว!!! :-)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

โพสต์หลายๆ ภาพ สู่ Flixya ....ในคลิกเดียว

แต่ก่อน เมื่อคราลองใช้ Flixya ครั้งแรกๆ ...รู้สึกว่ามันช่างยากเย็นซะเหลือเกินในการที่จะแอดภาพหลายๆ ภาพ ในคราเดียวลงในบล็อก Flixya แต่เมื่อได้อ่านบทความนี้ การแอดภาพแบบ multiple ต่อๆ ไป ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ทันที

แรกเริ่ม ผมก็แอดแบบทีละภาพหละครับ ก็สังเกตอยู่น๊ะที่เค้าอธิบายหนะ ว่าในการแอดภาพจะมี 2 Step และใน Step แรก เค้าบอกว่า You can add multiple photos and edit each description, category and tags on the next step. แปลก็คือ เราสามารถแอดภาพแบบ multiple ได้ และแก้ไขคำอธิบาย หมวดหมู่ และ Tag ใน Step ถัดไป ...แต่ดูอย่างไรเค้าก็ไม่เห็นอธิบายว่า จะแอดแบบเลือกหลายๆ ภาพ แล้ว Upload ทีเดียวเลย เนี่ยต้องทำอย่างไร (เข้าไปอ่านใน Help แล้ว ก็ไม่เห็นมีเลย)

เวลานั้นก็เลยต้องแอดทีละภาพ และต้องไล่ใส่รายละเอียด(ชื่อภาพ คำอธิบาย หมวดหมู่ และ Tag) ทุกครั้งเมื่อ Upload เสร็จทีละภาพ ทำให้(หงุดหงิด)เสียเวลามาก ..นึกอยู่ในใจว่าทำไมมันไม่ทำให้ง่ายๆ กว่านี้อะหว่า!

แต่วันนี้ก็รู้แล้วหละ(ด้วยความบังเอิญเช่นเคย) และเอามาแนะนำบอกต่อกัน ..สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ (คนที่ทราบแล้วก็เงียบๆ ไว้ อย่าเพิ่งว่าผม "ไม่อยู่ในรถไฟเลย!" แต่จริง ก็คงใช่หละ หุ หุ)

เอาหละ มาดูกันว่าทำเยี่ยงไร

  1. หลังจาก Login เข้าสู่ Flixya เรียบร้อยแล้ว เราก็คลิกหัวข้อ Upload Photos เพื่อแอดภาพตามปกติ ในหัวข้อ Images เราก็คลิก Browse... เข้าไปเลือกภาพที่ 1 เสร็จ กด Open ออกมาแล้ว ก็จะโชว์รายชื่อไฟล์ขึ้นมา 1 รายการ ดังภาพ
  2. หลังจากนั้น เราอย่าเพิ่งใส่รายละเอียดลงไป ให้คลิก Browse... เพื่อเข้าไปเลือกภาพต่อๆ ไป ตามจำนวนที่เราต้องการ(1 Browse = 1 ภาพ) ดังตัวอย่าง
    เมื่อครบตามจำนวนแล้ว ก็เพิ่มรายละเอียด(ชื่อภาพ คำอธิบาย หมวดหมู่ และ Tag) ให้ครบ
    จะสร้าง Gallery ในชื่อใหม่ก็ได้ ครับ จะได้เก็บเป็นหมวดหมู่หน่อย ..เสร็จแล้ว ก็คลิกปุ่ม UPLOAD ได้เลย
  3. เมื่อ เสร็จแล้ว ก็เข้าสู่ Step ที่ 2 จะให้เราแก้ไข ที่ขาดตกไป หรือที่อยากแก้(รายละเอียด) ..เสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Done
  4. เสร็จเรียบร้อย ก็ไปดูผลงานกันเลย

ปล. ในคลิกเดียว ก็คือ คลิก Upload เพียงครั้งเดียวไงครับ สำหรับใคร? ที่ทราบแล้ว ก็ถือว่าเป็นการทบทวนหละกัน ครับ ...วันนี้ แค่นี้ก่อน ไปหละครับ แล้วเจอกันใหม่!!! :-)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

13 ตุลาคม, 2550

Blog Action Day 2007

วันที่ 15 ตุลาคม 2550 ; อะไรจะเกิดขึ้น...?


อยากรู้มั๊ยครับ? ว่าหากวันจันทร์ ที่ 15 ตุลาคม 2550 ...ที่จะถึงนี้ Blog ทั่วโลกพูดถึงเรื่องเดียวกัน ก็คือ "เรื่องสิ่งแวดล้อม" ครับ สิ่งแวดล้อมของโลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง มาช่วยกันนะครับ ...แม้ว่าเราไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันออกมา แต่อย่างน้อยขอให้เราได้ช่วยพูดถึง ช่วยสะกิดให้ตัวเราเอง และผู้คนในโลกนี้ได้เกิดจิตสำนึกที่ดี ในทางที่จะร่วมมือช่วยกันทำให้โลกของเรา มีสิ่งแวดล้อมที่ดี(กว่า) ที่น่าอยู่ น่าอาศัยสำหรับตัวเราเอง ลูกหลานของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต และผู้คนรอบข้าง ช่วยกันนะครับ
...รีบเข้าไปสมัครกับโครงการที่ดีเช่นนี้นะครับ ที่ Blog Action Day :-)

Technorati Tags:

10 ตุลาคม, 2550

หน้าตาแบบนี้เอง ..กราฟของ Blog เรา

ไปตระเวนดู Blog ของเพื่อนบ้านมา (ของคุณ iake หนะครับ)ไปเจอกราฟโครงสร้างของ Blog ที่เค้าทำมาจากเว็บไซต์หนึ่ง (ตามไปอ่านได้ที่บล็อกคุณ iake และนี่ websitesasgraphs ครับ) เห็นว่าแปลกดี น่าสนใจ ก็เลยเอามาลองทำดูมั่ง
ความหมายของสีต่างๆ? ดังนี้ครับ
blue: for links (the A tag)
red: for tables (TABLE, TR and TD tags)
green: for the DIV tag
violet: for images (the IMG tag)
yellow: for forms (FORM, INPUT, TEXTAREA, SELECT and OPTION tags)
orange: for linebreaks and blockquotes (BR, P, and BLOCKQUOTE tags)
black: the HTML tag, the root node
gray: all other tags

ได้รูปร่างหน้าตา ตามภาพเลยครับ ...รู้สึกว่ากว่ามันจะประมวลผลเสร็จใช้เวลาไปนานเลย(หลายนาที)
และหลังประมวลผลเสร็จแล้ว ก็ยังขยับๆ อยู่นะเนี่ย ดูแล้วชวนให้ลายตาดีนักเชียว
เค้าพยายามจะสื่ออะไร ก็ลองตีความกันเอานะครับ แต่ที่แน่ๆ สีเหลืองไม่มีเลย ซึ่งมันคือ ผวกแบบฟอร์มรับข้อมูล หรือตัวเลือก พื้นที่ที่จะให้กรอกข้อมูลลงไป ของเราเองไม่มีซักที่เลย ..คงจะเป็นเช่นนี้แหละโน๊ะ! หุ หุ

07 ตุลาคม, 2550

อ้างอิงอย่างไร? ให้ถูกใจและถูกต้อง

การอ้างอิง คืออะไร? แล้วทำไมต้องอ้างอิงด้วยหละ! เราคงไม่ต้องอ้างอิงก็ได้ครับ ...หากเราไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ คือ การที่เราได้ไปเห็น ได้ไปอ่านและรับรู้ Entry(การบันทึก การจดบันทึก) เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากเว็บไซต์หรือบล็อกที่ใดที่หนึ่งของชาวบ้านเค้า แล้วเราเกิดถูกใจ หรืออาจจะแคลงใจ(ตะหงิด ตะหงิด)ก็ได้ แล้วอยากจะเอามาพูดต่อ ขยายความต่อในเรื่องเดียวกันในบล็อกของเรา

<< ความจริงในเรื่องของวิธีการศึกษาในปัจจุบัน ก็คือ สิ่งที่เราเรียนรู้กันอยู่ทุกวันนี้ ความรู้ที่เราได้รับรู้มานั้น เกิดจากการถ่ายทอดต่อกันมาเป็นทอดๆ จากผู้ที่ค้นพบ ผู้คิดค้น ผู้ที่รู้ก่อน ดังนั้นการอ้างอิงในสิ่งที่เรารับรู้มาจากผู้อื่น จึงเป็นเรื่องของมารยาท ที่เราจะต้องให้เกียรติกับผู้ค้นพบความรู้นั้นๆ และอีกอย่าง ยังเป็นการแสดงถึงการเป็นคนที่ยอมรับในกติกาที่ว่า "ถ้าอ้างอิงต้องบอกแหล่งที่มา การบอกถึงแหล่งที่มา เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านสามารถตามไปค้นถึงต้นตอ และดูในรายละเอียดได้ต่อไปได้" >>

แหล่งข้อมูลจาก : วิจัยน่ารู้ และการจัดการความรู้

ทีนี้มาพูดเรื่องการอ้างอิงในบล็อกเราต่อ ..เมื่อใดก็ตามที่เราได้เข้าไปอ่านเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในบล็อก/ไซต์คนอื่น แล้วเกิดอยากจะเอามาพูดหรือขยายความต่อในเรื่องนั้นๆ ด้วย เราก็ต้องให้เครดิต(ให้เกียรติ)เค้าผู้เป็นเจ้าของเรื่อง ตามมารยาทของบล็อกเกอร์ที่ดี

วิธีการดังนี้ ครับ

  1. ทำลิงค์(Link) ไปยังบทความเรื่องนั้น โดยตรงเลยครับ วิธีนี้ทำได้ในขณะที่เรากำลังเขียนบทความอยู่ เราก็ทำลิงค์เชื่อมโยงออกไปตามปกติ เหมือนตัวอย่างข้างบนนี้เลยครับ และการทำลิงค์ไปยัง Entry นั้นๆ ควรจะเป็นลิงค์ของ Entry นั้นโดยตรง หรือที่เรียกกันว่า Permalink(ลิงค์ถาวร) คือเป็นลิงค์ที่ไปยังหน้านั้นๆ จริงๆ ไม่ใช่ไปหน้าแรกของบล็อก
  2. ใช้ Trackbacks อันนี้จะใช้ได้กับบล็อกที่สนับสนุน Trackbacks นะครับ ของ Blogger เองยังไม่สนับสนุนเลยครับ (อือ ..เศร้า!) แต่มีวิธีอื่น ใช้ทดแทนกันได้ ..เดี๋ยวจะพูดต่อทีหลังครับ
    แล้วเจ้า Trackbacks เนี่ย มันคืออะไร? อย่าเพิ่งงงครับ มันคือ "เป็นโมดูล แสดงส่วนอ้างอิง" ครับ เช่น กรณีที่มี Entry หรือเนื้อหาของบล็อกอื่น อ้างอิงถึงเนื้อหาของเรา เจ้าของบล็อกจะสามารถทราบได้ว่า มีผู้เขียนบล็อกคนใดได้นำ Entry ของเราไปอ้างอิงที่ใดบ้าง โดยดูได้จากส่วน Trackbacks ตรงนี้แหละครับ
  3. ใช้ Blog it ใน Windows Live Space จะมีเมนูพิเศษแบบนี้อยู่ เพื่อใช้ในเวลาที่เราจะพูดถึงบล็อกที่เราเอาเนื้อหาเค้ามาขยายความต่อ ขณะที่เราอ่านเนื้อหาเรื่องนั้นอยู่ เราก็คลิกที่แถบ Blog it ได้เลยครับ ..แล้วหน้าจอก็จะโหลดมายังโหมดแก้ไขในสเปซของเรา โดยมีการตั้งชื่อเรื่องให้ และสร้างลิงค์(ให้เครดิต)ไปยังบทความต้นฉบับให้เรียบร้อย (ถ้าเป็น Msn space รุ่นก่อนหน้านั้น จะมาทั้งเนื้อหาทั้ง Entry ทุกอย่าง เลยหละ)

เพิ่มเติม...

วิธีเก็บ Permalink หรือลิงค์ถาวร ทำง่ายๆ ดังนี้

  1. คลิกขวา ตรงชื่อบทความ ..จะมีเมนูฉลาดเปิดขึ้นมา
  2. เลื่อนเมาส์ลงมา คลิกที่ Copy Link Location (ใน Firefox) ใน IE6 ทำขั้นตอนเดียวกัน แต่คลิกที่ Copy shortcut หรือจะคลิกที่ ชื่อบทความ เลยก็ได้ครับ และใน Opera คลิกที่ Copy link address ครับ
  3. ทีนี้เราก็จะได้ลิงค์ถาวรของ Entry นั้นจริงๆ เลย และเอาไป Paste ลงในลิงค์ที่เราจะเชื่อมโยงไปได้เลยครับ

Trackbacks ของ Blogger ยังไม่มีให้ใช้ ..เราก็ใช้คำสั่งอื่นแทนได้ ดังนี้ครับ

  1. ท้าย Entry ของทุกบทความจะมีส่วนที่ชื่อว่า Links to this post หรือ ลิงก์ไปยังบทความนี้ ให้คลิกตรงนั้นได้เลยครับ
  2. เสร็จแล้วจะเปิดหน้าใหม่ ในโหมดแก้ไขบทความ พร้อมมีลิงค์สำหรับโยงไปยังบทความต้นฉบับให้เรียบร้อย โดยลักษณะการทำงานจะคล้ายๆ กับ Blog it ใน Windows Live Space เลยครับ

สรุป

หากเราทำถึงขนาดนี้แล้ว เค้าคงไม่มาว่าเราแล้วนะครับว่า เราไปคัดลอกเนื้อหาเค้ามา ก็อุตส่าห์ให้เกียรติ ให้เครดิตไปแล้วขนาดนั้น ..แล้วเค้า(เจ้าของ Entry ต้นฉบับ)จะไม่ถูกใจเลยสักนิดเลยหรือกระไร ? คงเป็นไปไม่ได้หละมั๊ง! ใช่ไหมครับ??

02 ตุลาคม, 2550

มือใหม่ ..จะเริ่มต้นทำ Blog อย่างไรดี

How to Start Your Basic Blog
สำหรับนักอ่าน Blog ผู้ที่กำลังสนใจการเขียน Blog และกำลังคิดจะกลายมาเป็นนักเขียน Blog ในอนาคตอันใกล้นี้ เนื้อหาในบทความนี้อาจจะช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจและทำ Blog ในเบื้องต้นได้
มาเริ่มกันเลยครับ …
1. ตัดสินใจให้ได้ว่า เราจะเขียน Blog เกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งบล็อกที่ดี จะเขียนโฟกัสในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างชัดเจน เราอาจจะเขียนนอกเรื่องได้ในบางครั้ง แต่ผู้อ่านบล็อกของเราเขาก็ต้องการที่จะรู้ว่าบล็อกเราเป็นประเภทไหนกันแน่ เมื่อเขาเข้ามาอ่านเนื้อหาในบล็อกของเรา ...มี Blog ประเภทต่างๆ จำนวนมาก นี่คือตัวอย่างบางส่วน (Blog ต่างประเทศ ครับ)


เมื่อดูตัวอย่างแล้ว เกิดแรงบันดาลใจ แล้วทีนี้เราก็ไปเลือก Blog Host ที่เราสนใจ แล้วก็สมัครใช้บริการทำ Blogได้เลยครับ ...อย่ามัวรีรอ
2. ให้สัญญากับตัวเอง ว่าจะเขียน Blog ให้ได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ยิ่งเราโพสต์เนื้อหาบ่อย ผู้อ่านที่เข้ามาอ่าน Blog เราบ่อยๆ ก็จะมากขึ้นเท่านั้น เพราะถ้าเค้าเข้ามาแล้ว เห็นมีเนื้อหาใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกครั้ง เค้าก็จะยิ่งเข้ามาอ่านบ่อยๆ แต่ตรงข้ามกันหากเข้ามาแล้ว เห็นแต่เรื่องเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ...เค้าก็คงไม่อยากจะเข้ามาอีกเป็นแน่แท้ (เรื่องนี้ผมก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ โดยเฉพาะกับ Blog ของตัวเองเวลาที่ไม่ได้อัพเดทนานๆ ...รู้สึกเกรงใจผู้อ่านจริงๆ!!)
3. ลงทะเบียนเช่า Blog Hosting ถ้าเราคิดว่าจำเป็น แต่สำหรับผม ชอบง่ายๆ และก็ฟรี ครับ บางคนอาจจะบอกว่าอยากได้ที่มันเจ๋งๆ กว่านี้ ก็อาจเลือก Account อื่น เช่น Typepad, Movable Type ซึ่งอาจได้ฟีเจอร์ที่มากกว่า แต่ก็ต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป ครับ
4. ให้ผู้อ่านสามารถคอมเมนต์ได้ และทำให้หน้า Blog ถูกค้นพบจาก Search engines ได้ง่ายขึ้น ถ้าเราใช้ Blogger มีตัวเลือก 2 แห่ง ที่เราจะปรับแต่ง : คือ

I. ในหัวข้อ เก็บเข้าคลังบทความ : คลิก “ใช่” เพื่อ เปิดใช้หน้าบทความ (เหตุผลก็คือ หน้าบทความจะมีหน้าเฉพาะของตัวเอง สำหรับแต่ละบทความ นอกเหนือจากที่ปรากฏในหน้าแรกในบล็อกของเรา) ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านค้นหาเนื้อหาที่เราโพสต์ได้ง่ายขึ้น เมื่อเขาเจาะจงค้นหาเป็นเรื่องๆไป
ในหัวข้อ ข้อคิดเห็น : คลิก “ท่านใดก็ได้” เพื่อให้ใครก็ได้สามารถแสดงความคิดเห็นได้ หากเราต้องการที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่เราโพสต์ ในหัวข้อ เปิดใช้การดูแลความคิดเห็นหรือไม่ ให้เลือก “ใช่” เพื่อแสดงคำ ตรวจสอบการเป็นมนุษย์(Word Verification) เพื่อป้องกันspammers หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ (Robot) จากการคอมเมนต์ ใน Blog เรา

 
II. ในหัวข้อ ฟีดของไซต์ ให้เลือก แบบเต็ม เพื่อจัดส่งเนื้อหาของบทความแบบเต็ม เลือก แบบสั้น ถ้าคุณต้องการจัดส่งเนื้อหาเฉพาะย่อหน้าแรก หรือประมาณ 255 ตัวอักษร ให้ผู้อ่านสามารถรับฟีดบทความของเราจากที่ต่างๆ ได้


5. อนุญาตให้ผู้อ่านได้ลงชื่อ บอกรับเป็นสมาชิก เพื่อรับบทความทางอีเมล์ (เราอาจจะวางไว้ด้านซ้ายมือ หรือขวามือ ด้านบน มุมใดมุมหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ ใน Blog ของเรา) ซึ่งเราอาจจะเขียนว่า "Enter your email to subscribe" ... กรอก อี-เมล์ ของคุณที่นี่ เพื่อรับบทความเยี่ยมๆ (อันนี้พูดเอง) อัตโนมัติ ฟรีจากเรา
ซึ่งวิธีการนั้น เราอาจจะไปสมัครจากผู้ให้บริการ (Subscribe) รายใดก็ได้ เช่น Feedblitz (เจ้านี้ ฟรี นะครับ) เมื่อสมัครเรียบร้อย เราก็จะได้ Code (อาจเป็น HTML หรืออะไรก็ตาม) มาอันหนึ่ง แล้วเอามาวางตรงมุมใดมุมหนึ่งใน Blog ของเรา
6. แสดงรายชื่อ Blog ที่เราชอบ หรือที่เราเข้าไปดูบ่อยๆ (ซึ่งเราอาจจะวางไว้ใน Sidebar ด้านซ้ายหรือด้านขวาก็แล้วแต่ชอบ ครับ) ซึ่งส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของการเขียน Blog ก็คือ การที่เราเชื่อมโยงผู้อ่านของเรา ด้วย Blog อื่นๆ ซึ่งเขาอาจจะสนใจ และในขณะเดียวกัน เราก็หวังว่า Blogger คนอื่นๆ จะติดต่อกับผู้อ่านของเขา โดยเชื่อมโยงมายัง Blog ของเราเช่นเดียวกัน
วิธีการนั้น หากเราใช้ Blogger ให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ล็อกอินเข้าสู่ บัญชี Blogger ของเรา
  2. ในหน้า Dashboard (แผงควบคุม) ให้คลิกหัวข้อ รูปแบบ
  3. คลิก เมนู เพิ่มองค์ประกอบของหน้า
  4. หน้าต่าง เพิ่มองค์ประกอบของหน้าใหม่จะเปิดขึ้นมา ในหัวข้อ รายชื่อลิงค์
  5. คลิก เพิ่มในบล็อก
  6. หน้าต่าง ตั้งค่ารายชื่อลิงค์ จะเปิดขึ้นมา
  7. ตรงหัวข้อ หัวข้อ(1) ให้ ตั้งชื่อว่า My Favorite Blog, Blog Roll, Blog เพื่อนบ้าน หรืออะไรก็ได้ แล้วแต่ชอบ ครับ
  8. ใส่จำนวนลิงค์ ที่จะให้แสดง ใน จำนวนลิงค์ที่จะแสดงในรายการ (2) ...เว้นว่าง จะแสดงทั้งหมด
  9. เลือก การเรียงลำดับ (3)
  10. ใส่ URL ของ Blog ที่เราจะลิงค์ไป ใน URL ของไซต์ใหม่ (4)
  11. ใส่ชื่อ Blog ที่เราจะลิงค์ไป ใน ชื่อเว็บไซต์ใหม่ (5)
  12. คลิก บันทึกการเปลี่ยนแปลง
  13. เสร็จแล้วจะกลับมาที่หน้า เทมเพลต จะเห็นป้ายชื่อ???? ที่เราตั้ง ปรากฏขึ้น ให้
  14. ใช้เมาส์ ลากไปไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ เป็นอันเรียบร้อย
ในการเพิ่มลิงค์นี้ เราสามารถเพิ่มได้เท่าไรก็ได้ เท่าที่เราต้องการ แต่อย่าให้มากไปจนมองดูแล้วเวียนหัว ตาลายหละกัน ครับ
7. ติดตั้งตัวนับสถิติผู้เยี่ยมชม (Stat Counter) เราอาจต้องการเห็นว่ามีผู้เข้ามาอ่าน Blog ของเรามากน้อยเท่าไหร่ และพวกเขามาจากที่ใดบ้าง (Site/Blog ใดที่ลิงค์มา) ซึ่งเราอาจจะขอบคุณเค้าทีหลัง ที่ได้แนะนำ และทำลิงค์มายัง Blog เรา มี Free counter sites จำนวนมากที่ให้บริการให้เรา เอาตัวนับสถิติมาติด และนี่คือตัวอย่าง ที่เราสามารถสมัครใช้บริการได้ ครับ
http://www.statcounter.com/
http://www.sitemeter.com
http://www.google.com/analytics/
วิธีการนั้น ง่ายๆ แค่เราเข้าไปลงทะเบียนสมัครใช้บริการ และเมื่อสำเร็จก็จะได้ Code มา เสร็จแล้วก๊อปปี้มาวางใน Blog ของเราในส่วน เทมเพลต หัวข้อ เพิ่มองค์ประกอบของหน้า ...เลือกวางได้ในตำแหน่งที่เหมาะสม
8. เมื่อเริ่มต้นเขียนเนื้อหาบทความ ให้แน่ใจว่าในบทความของเราจะมีลิงค์(ที่คลิกได้)ที่เชื่อมโยงไปยังไซต์/บล็อกอื่นรวมอยู่ด้วย วิธีทำลิงค์ใน Blogger นั้นทำได้ง่ายๆ ดังนี้
  • ทำไฮไลท์ข้อความที่เราต้องการจะทำลิงค์ออกไป จากนั้น
  • คลิกไอคอนที่คล้ายๆลูกโลก+โซ่ ที่อยู่ส่วนบนของแถบเครื่องมือ Post Editor (เขียนเนื้อหา) ของ Blogger
  • พิมพ์ URL ของไซต์/บล็อกที่เราต้องการจะทำลิงค์ไป แล้วคลิก OK
ถ้าเราต้องการจะเพิ่มรูป ลงในเนื้อหาด้วย
  • ก็คลิกที่ไอคอนชื่อว่า เพิ่มรูปภาพ
  • คลิก Browse เพื่อค้นหารูปจากคอมพิวเตอร์ของเรา เลือกรูป หรือจะเพิ่มจาก ไซต์/บล็อกอื่นก็ได้ โดยกรอก URL ของรูปภาพนั้นในช่อง เพิ่มรูปภาพอื่น URL [……………]
  • เสร็จแล้วกำหนดขนาดของรูปที่จะให้แสดงใน Blog มี 3 ขนาดให้เลือก คือ เล็ก กลาง และใหญ่
  • จากนั้นเลือก จะให้จัดภาพไว้ส่วนใดของหน้า คือ ชิดซ้าย กลาง ชิดขวา หรือไม่มี
  • เสร็จแล้ว คลิก อัพโหลดรูปภาพ …เป็นอันเสร็จ ครับ
9. เพิ่ม Tag ให้กับเรื่องที่เราเขียน ในส่วนท้ายของเนื้อหา การเพิ่ม Tag จะทำให้ผู้คนสามารถค้นหาเรื่องที่เราเขียนได้ง่ายขึ้นจาก Blog Search Engines เช่น Technorati ตัวอย่างเช่น ในตอนท้ายของบทความนี้ เราจะเห็นคำ ข้อความ สั้นๆ ซึ่งเราสามารถคลิกเข้าไปได้ และจะพบกับเนื้อหาเรื่องเดียวกันจาก Blog อื่นๆ ใน Technorati ที่ใช้ Tag คำเดียวกันกับของเรา
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องการเพิ่ม Tag ได้ที่ คำอธิบายเกี่ยวกับการเพิ่ม Tag
10. ทีนี้ก็ทำให้ Blog Search Engines ต่างๆ รับรู้ว่าเราได้อัพเดทเนื้อหาใหม่แล้ว อีกครั้ง ซึ่งมี Blog/Site ต่างๆ ที่ให้บริการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น Ping-O-Matic Technorati Pingoat
วิธีการนั้น เราก็เข้าไปลงทะเบียนลงชื่อ Blog ของเรา ทีนี้เวลาที่เราเขียนเนื้อหาเรื่องใหม่และโพสต์เรียบร้อยแล้ว เราก็เข้าไปที่ Blog ที่ให้บริการที่เราได้ลงทะเบียนไว้ และสั่งให้มัน Ping ไปที่ Blog Search Engines ต่างๆ ด้วย ...ขอบคุณมาก
11. เข้าไปอ่าน Blog อื่นๆ ของชาวบ้านบ้าง เช่นเราอาจจะไปสมัครกับ Bloglines ซึ่งเราก็จะเห็นว่า Blogger คนอื่นๆ เค้าพูดถึงเรื่องอะไร ต่างๆ สารพัดใน “Blogosphere” ทำให้เราได้รับรู้เรื่องต่างๆ ใหม่ๆ เป็นข้อมูลที่อาจจะนำมาเขียนใน Blog ของเราในเรื่องต่อๆไป ก็ได้
12. สุดท้าย ก็ “มีความสุขกับการเขียนบล็อก” ทุกๆ คน ครับ
หากอ่านมาตั้งแต่ต้น จนจบ เนื้อหามันช่างมากมาย ชวนให้งวยงงนัก ..ก็ขอสรุปย่อๆ สั้นๆ ดังนี้ครับ
  1. เลือก Blog Host ที่จะสมัครลงทะเบียนทำ Blog เจ้าไหนก็ได้ที่เราพอใจ
  2. และลงมือเขียนเนื้อหา บทความลงไป
  3. ปรับแต่งให้เป็นที่พอใจ
  4. เผยแพร่ บอกต่อ ให้ชาวโลกได้รับรู้ ว่าเรามีตัวตนอยู่จริง
แค่นี้ คงจะเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นทำ Blog ของนักเขียน Blog มือใหม่ที่กำลังสนใจที่จะเขียน Blog ขึ้นมาซักที่หนึ่ง และที่อื่นๆ อีกต่อไป
Source: How to Start Your Basic Blog.
43 Things Tags: มือใหม่ เริ่มต้นทำ Blog

Related Posts by LinkWithin

Related Posts with Thumbnails